ส่วนประกอบ เครื่องจีพีเอส
เครื่องจีพีเอส ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้นมีฟังก์ชั่นใช้งานมากมายไม่ว่ากล้องหน้ารถ จอสัมผัส ระบบแนะนำสถานที่ แต่โดยหลักๆแล้ว เครื่องจีพีเอส จะมีส่วนประกอบหลักๆที่เหมือนกันคือ
1. ตัวเครื่องGPS คือเครื่องGPS มีลักษณะการออกแบบและวัสดุแตกต่างกันไป
2. ส่วนให้พลังงาน เนื่องจากเครื่องGPS จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยงระบบทั้งการประมวณผลและการรับส่งสัญาณ แบตเตอรี่สำรองจึงมีความสำคัญมาก
3. เสาอากาศGPS ทำหน้าที่คอยรับสัญญาณดาวเทียมGPS
4. เสาอากาศGSM ทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลสัญญาณผ่านโครงข่ายโทรศัพท์
5. ส่วนประมวลผล(Chipset) เป็นส่วนประมวลผลคำนวณข้อมูลที่รับจากดาวเทียมและแสดงผลออกมา
เราสามารถแบ่ง เครื่องGPS ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามจุดประสงค์ในการใช้งาน GPS Navigator (อุปกรณ์GPSระบบนำทาง),GPS Tracking System (อุปกรณ์GPSระบบติดตามรถ,GPSติดตามยาพาหนะ ตามสัตว์เลี้ยง ตามคน)
GPS Navigator หรือ อุปกรณ์GPSนำทาง เป็นอุปกรณ์สำหรับบอกตำแหน่งที่เราต้องการเดินทางไป พร้อมแนะนำเส้นทางที่เหมาะสม ส่วนมากแล้วจะใช้งานเพื่อเดินทางไปในที่ที่ไม่คุ้นเคยซึ่งเจ้าของรถไม่เคยไปหรือไปไม่บ่อยครั้ง
เครื่องGPS ประเภทนี้จะแสดงตำแหน่งและเส้นทางบนแผนที่ที่ใช้ในการเดินทาง พร้อมมีเสียงแจ้งเตือนการเปลี่ยนทิศทาง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือ กลับรถ ทำให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องหันมองหน้าจอตลอดเวลา
นอกจากระบบการนำทางไปสถานที่ที่ต้องการแล้ว ปัจจุบันบริษัทต่างๆได้เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกลงไปในเครื่องGPSอีกหลายอย่างเช่น สามารถเป็นกล้องติดหน้ารถ และกล้องมองหลังได้ มีระบบแนะนำสถานที่สำคัญอย่างธนาคาร ปั๊มน้ำมัน ร้านอาหาร หรือสถานที่ท่องเที่ยว โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น และสามารถเพิ่มสถานที่จุดสนใจ (POI)ได้ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน
GPS TRACKING SYSTEM (อุปกรณ์GPSระบบติดตามรถ ติดตามยานพาหนะ ตามรถทุกประเภท) เป็นอุปกรณ์จีพีเอสติดตามรถโดยจะเก็บตำแหน่งพิกัดเส้นทางรถวิ่งตลอดเวลา เพื่อนำมาใช้ติดตามรถในกรณีรถหาย หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการยานพาหนะระบบขนส่งในองค์กร โดยใช้เพื่อบริหารจัดการการขนส่งในกลุ่มธุรกิจขนส่งสินค้า ธุรกิจบริการ ธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร หรือ SME ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
GPS TRACKING SYSTEM จะมี Software ให้ผู้ใช้งานตรวจเช็ดตำแหน่งรถที่ขนส่งสินค้าแบบ Real TIme โดยอุปกรณ์ GPS จะรับ/ส่งข้อมูลไปที่ Server เพื่อเก็บข้อมูล ส่วนผู้ใช้งานเพียงใช้งานผ่าน Website หรือ Application GPS Tracking มี 2 แบบ คือ แบบ Offline, แบบ Online
1.อุปกรณ์GPSติดตามรถแบบ Offline เป็นแบบเก็บตำแหน่งข้อมูลพิกัดการเดินทางของรถในตัวเครื่องGPS เมื่อต้องการข้อมูลจำเป็นต้องต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อโอนถ่ายข้อมูลออกมาดู ซึ่ง GPS Tracking แบบ Offline ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม
2.อุปกรณ์GPSติดตามรถแบบ Online สามารถดูแบบ Real Time และมีค่าบริการรายเดือนหรือรายปีเนื่องจากต้องใช้ SIM อินเตอร์เน็ตในการส่งข้อมูลเก็บที่เครื่อง Serve เพียงผู้ใช้งานดูผ่าน Website และ Application ปัจจุบันนิยมกันมากทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชล
**นอกจากดูตัวเครื่องGPSและราคาGPSที่ถูกแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงคือโปรแกรมการใช้งานได้จริง ซึ่งจะเป็ยข้อแตกต่างกันของแต่ละบริษัทฯผู้ให้บริการ และบริการหลังการขาย GPS Tracking เป็นต้น